alt


alt

 

alt

ประวัติความเป็นมาด้านประวัติศาสตร์

                   ตามประวัติอำเภอเมืองราชบุรี เดิมเป็นที่ตั้งเมืองเรียกว่า “เมืองราชบุรี” มีฐานะเป็น มณฑลราชบุรี อันเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร “ทวาราวดี” ของชนชาติลาว ล่ากันว่าเมืองราชบุรีนี้ตัวเมืองเดิมตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านไร่ (เดิมชื่อตำบลอู่เรือ ) อำเภอเมืองราชบุรีในปัจจุบัน ต่อมาเมืองราชบุรีได้ร้างไปประมาณ 300 - 400 ปี ภายหลังพระเจ้าอู่ทองได้สร้างเมืองราชบุรีขึ้นใหม่ทีวัดมหาธาตุ ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของศาลากลางจังหวัดหลังเก่าฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง
               ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2360 (ร.ศ. 36) ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทรงโปรดเกล้าให้ย้ายเมืองราชบุรี มาตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำแม่กลอง คือที่ตั้งจังหวัดทหารบกราชบุรี
               ครั้นปี พ.ศ.2440 (ร.ศ. 116) ได้เริ่มจัดระเบียบการปกครองท้องที่ในครั้งนั้นได้แบ่งการปกครองท้องที่ออกเป็น 5 อำเภอ เฉพาะอำเภอเมืองราชบุรี เดิมตั้งอยู่ที่ตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม ในครั้งนั้น จึงเรียกว่า “แขวง” ต่อมา พ.ศ.2441 จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอจากตำบลธรรมเสนมาตั้งที่ถนนอัมรินทร์ ตำบลหน้าเมือง มีพระแสนท้องฟ้า (ป๋อง ยมคุปต์ เป็นนายอำเภอ ครั้นต่อมาบริเวณที่ที่ว่าการอำเภอเมืองราชบุรี ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นศูนย์การค้า จึงได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเมืองราชบุรีไปปลูกสร้างใหม่ ณ บริเวณที่มีโครงการจัดตั้งเป็นศูนย์ราชการปัจจุบัน
               ตำบลธรรมเสน เป็นตำบลที่เก่าแก่มาก จากหนังสือไทยรบ - พม่า ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ฉบับ พ.ศ.2543 ได้กล่าวเกี่ยวกับตำบลธรรมเสนไว้พอสมควร ในหน้า : 361 คือ สงครามครั้งที่ 8 คราวรบพม่าที่บางแก้ว เมืองราชบุรี ปีมะเมีย พ.ศ. 2317 หลังจากพระเจ้าตากสินทรงกอบกู้อิสรภาพจากพม่าได้แล้ว พม่าได้กองทัพติดตามครอบครัวมอญ ซึ่งอพยพหนีเข้ามาในประเทศไทยทางด่านเจดีย์สามองค์และตั้งค่ายอยู่ที่บ้านบางแก้ว (ปัจจุบันเป็นตำบล นางแก้วอำเภอโพธาราม) รวม 3 ค่ายและตั้งค่ายที่เขาชะงุ้ม (ตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม) อีก 1 ค่าย พม่าเหล่านี้ได้ออกปล้นสะดมชาวไทยในเขตราชบุรี   ทำให้เกิดความเดือดร้อนระส่ำระสายทั่วไปครั้นความทราบถึงพระกรรณพระเจ้าตากสินจึงเสด็จโดยเรือพระที่นั่งยกพระพยุหยาตรามาทางเมืองสาครบุรี (สมุทรสาคร) จนถึงค่ายที่เมืองราชบุรี เมื่อทรงทราบกำลังข้าศึกแล้วจึงเสด็จจากค่ายเมืองราชบุรีไปทางวัดอรัญญิกและประทับแรม ณ พลับพลาค่ายศาลาโคกกาตาย (ปัจจุบันชื่อโคกกระต่ายอยู่ในตำบลธรรมเสนอำเภอโพธาราม) และตั้งค่ายบัญชาการรบที่วัดเขาพระ โดยเหตุที่คนไทยในขณะนั้นยังมีความครั่นคร้ามพม่าอันเนื่องมาจากการเสียกรุงอยุธยา จึงได้รับสั่งไม่ให้เข้าตีค่ายพม่าแต่ให้ตั้งค่ายรายล้อมอย่าให้ทัพพม่าเหล่านั้นออกหาเสบียงอาหารได้ ในขณะเดียวกันนั้นเจ้าพระยาจักรี (สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก) ซึ่งเสร็จศึก จากเชียงใหม่แล้วได้เสด็จเข้าเฝ้าพระเจ้าตากสิน ณ พลับพลาค่ายศาลาโคกกาตาย จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าสั่งให้เจ้าพระยาจักรีเป็นแม่ทัพ ถือดาบอาญาสิทธิ์ ยกกองทัพไปตั้งค่ายมั่นอยู่เหนือพระมหาธาตุ วัดเขาพระ (บริเวณที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลธรรมเสนปัจจุบัน) และได้บัญชาการรบอยู่ที่นั่นจนพม่าที่ค่ายบ้านบางแก้ว (วัดนางแก้ว) ยอมสวามิภักดิ์และที่ค่ายเขาชะงุ้มแตกไป การสงครามครั้งนี้กองทัพไทย ล้อมค่ายพม่าอยู่ถึง  47 วัน จับเชลยได้ 1,328 คน พม่าล้มตายในการรับครั้งนี้ กว่า 1,600 คน และการนี้ชาวโพธารามได้มีส่วนร่วมด้วยอย่างสำคัญ จึงนับเป็นเกียรติประวัติที่ชาวตำบลธรรมเสนภูมิใจยิ่ง โดยเฉพาะที่พระมหากษัตริย์ไทยได้มาบัญชาการรบด้วยพระองค์เองถึง 2 พระองค์ คือ พระเจ้าตากสินมหาราช (สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี)และเจ้าพระยาจักรี รัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี (สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)

Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Italian Japanese Korean Vietnamese

























































QR Code
อบต.ธรรมเสน

 

ช่องทางชำระภาษีทางอินเตอร์เน็ต


บัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์
 

ลิขสิทธิ์ © 2557 - 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โทร.032-234994

 

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล