ประวัติความเป็นมา องค์การบริหารส่วนตำบลธรรมเสน

alt

  ประวัติศาสตร์ของตำบลธรรมเสน
     ในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขากล่าวไว้เมื่อปี พ.ศ. 2317 พระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้า ฯ  ให้พระเจ้าลูกยาเธอ พระเจ้าจุ้ยกับพระยาธิเบศร์บดี  จางวางมหาดเล็ก  ยกทัพไทย  จำนวน 3,000 คน ออกมาตั้งรักษาเมืองราชบุรี  เนื่องจากอะแซ่หวุ่นกี้แม่ ทัพพม่าได้ให้งุยอคงหวุ่นคุมพล  5,000 คน  ยกกองทัพตามครอบครัวมอญที่อพยพหนีเข้ามา  กองทัพพม่าสามารถตีกองทัพไทย ที่รักษาค่ายท่าดินแดงแตก  แล้วยกเข้ามาตั้งค่ายที่ปากแพรก หลังจากนั้นได้แบ่งพลออกเป็น  2  กอง  ส่วนหนึ่งรักษาค่ายอยู่ที่ปากแพรก ที่เหลือ 3,000 คน  ยกลงมาตามแม่น้ำแม่กลองฝั่งตะวันตกเที่ยวปล้นทรัพย์จับเฉลยในแขวงเมือง ราชบุรี  เมืองสมุทรสงคราม  และเมืองเพชรบุรี  เมื่อมาถึงตำบลนางแก้วทราบว่ามีกองทัพไทยตั้งอยู่ที่เมืองราชบุรี  งุยอคงหวุ่น  จึงให้หยุดทัพตั้งค่ายซึ่งบริเวณตำบล โคกกระต่ายในทุ่งธรรมเสน  เป็นที่ตั้งค่ายของกองทัพไทย  ซึ่งนำโดยพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าจุ้ย  ส่วนกองทัพพม่าได้ตั้งค่าย อยู่ที่นางแก้วซึ่งห่ออกไปไม่มากนัก  พื้นที่บริเวณโคกกระต่ายนี้  เป็นชาวบ้านเคยขุดพบกระดูกคนและสัตว์เป็นจำนวนมาก  และจากการไถ ปาดหน้าดินก็จะพบเศษภาชนะดินเผากระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ 
     หลักฐานทางโบราณคดี  :  แหล่งโบราณนคดีบ้านโคกกระต่ายมีสภาพเป็นเนินดินสูงประมาณ  60  เซนติเมตร  จากท้องนาโดยรอบ  มีพื้นของเนินทั้งหมดประมาณ  30  ไร่  ปัจจุบันพื้นที่บางส่วนถูกปรับสภาพให้เป็นทุ่งนา  บางส่วนมีการไถปาดเอาหน้าดินออกไป  บนผิวดินพบวัตถุกระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก  ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเนินมีศาลไม้ขนาดเล็กตั้งอยู่  ชาวบ้านเรียกว่า   ศาลพระเจ้าตากสิน  จากการสำรวจบริเวณดังกล่าวปรากฏแนวคูน้ำ  ซึ่งเป็นคูค่ายโบราณอยู่บางส่วน  เนื่องจากส่วนใหญ่จะถูกทำลาย  ปรับสภาพกลายเป็นทุกนาไปหมดแล้ว  โบราณวัตถุที่พบบนผิวหน้าดิน  และที่ชาวบ้านเก็บรักษาไว้จะมีลักษณะดังนี้คือ
     alt ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อหยาบ  พบเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะบริเวณทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเนิน  ซึ่งสันนิฐานว่าเป็น ที่ตั้งค่าย  ลักษณะของเศษภาชนะดินเผาที่พบส่วนใหญ่มีเนื้อหยาบ  มีรูพรุนมาก  เผาด้วยอุณหภูมิต่ำ  สีน้ำตาลแดง  สีน้ำตาล  สีดำและขาวขุ่นพบทั้งที่เป็นเศษภาชนะผิวเรียบไม่มีการตกแต่งผิว และเศษภาชนะที่มีการตกแต่งผิวเป็นส่วนของลำตัวภาชนะ  ปาก  ไหล่  ก้น  ประเภทของภาชนะดินเผาที่พบนั้น  จะมีความหลากหลาย  เช่น  หม้อก้นกลมมน  มีสันที่ไหล่  สมัยทวารวดี  หม้อก้นกลมมนปากบาน  มีลายตกแต่งผิวแบบหม้อทะมน  สมัยกรุงศรีอยุธยา  ส่วนใหญ่ภาชนะดินเผาเหล่านี้จะเป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
     alt ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง  พบเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกัน  แต่จะอยู่บริเวณกลางเนินและทางด้านทิศตะวันออกของเนิน  ซึ่งติด กับหนองน้ำ  เศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งนี้พบทั้งที่เป็นภาชนะดินเผาในประเทศและ ภาชนะดินเผาที่มีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ  ได้แก่
          alt  เศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง  เผาด้วยอุณหภูมิสูง  มีการเคลือบผิวสีน้ำตาลหรือเขียวลายสีน้ำตาลและดำใต้เคลือบใส  แบบเครื่องถ้วย ที่ผลิตจากแหล่งเตาศรีสัชนาลัย  และแหล่งเตาเมืองสุโขทัยเก่า  จังหวัดสุโขทัย
          alt  เศษภาชนะดินเผาเนื้อแกร่ง  สีขาวนวล  ลักษณะเป็นแจกันเครื่องถ้วยชิงไป๋จากแหล่งเตาฟูเจี้ยนในประเทศจีน  และภาชนะเคลือบ เขียว  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกระปุกหรือจานขนาดใหญ่  จากเตาหลงฉวนสมัยราชวงศ์หยวน  (พุทธศตวรรษที่  19 - 20)  นอกจากนั้นก็จะเป็นเครื่องถ้วยลายครามในสมัยราชวงศ์ หมิง -  ชิง  (พุทธศตวรรษที่  21 - 23)
     alt ลูกปัดแก้ว  จากการสำรวจพบจำนวน  3  ลูก  เป็นลูกปัดแก้วสีฟ้า  ลักษณะกลมแบนเส้นผ่าศูนย์กลาง  0.2  เซนติเมตร  แบบลูกปัด สมัยทราวดี
     alt ปี้  ลักษณะเป็นเหรียญทรงกลม ทำจากเครื่องเคลือบเนื้อแกร่งสีขาว  ด้านหน้ามีตัวอักษรจีน  4   ตัว  เขียนด้วยสีครามอยู่ในวงกลม ขนาดเส้นศูนย์กลาง  1.5  เซนติเมตร  ปี้นี้จะใช้แทนเงินสดสำหรับเล่นพนันในบ่อนต่าง ๆ  สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
     alt กระปุกขนาดเล็ก  เนื้อแกร่งสีขาวขุ่น  ดัดตรง  ปากตรง  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง  2  เซนติเมตร  สูง  3  เซนติเมตร  เป็นเครื่องถ้วย จีนแบบชิงไป๋  พุทธศตวรรษที่  17 - 19   สันนิษฐานว่าน่าจะใช้สำหรับใส่เครื่องหอม  เนื่องจากกระปุกมีขนาดเล็กมาก
     alt กล้องยาสูบดินเผา เนื้อหยาบเผาด้วยอุณหภูมิต่ำ  ผิวเรียบไม่มีการตกแต่ง  ปลายกล้องบานออก  ตัวกล้องบริเวณที่ใช้สูบชำรุด ขนาดยาวประมาณ  4  เซนติเมตร  สูง  3.5  เซนติเมตร
     alt ลวดลายประดับภาชนะดินเผา  ลักษณะเป็นดินเผาเนื้อแกร่งสีเทาดำ  เป็นรูปคล้ายกระจังปลายม้วนเข้าด้านใน  ส่วนมากจะใช้ ประดับบริเวณของไหล่ภาชนะดินเผา  ซึ่งผลิตจากแหล่งเตาเผาบ้านบางปู  ตำบลวิหารแดง  จังหวัดสุพรรณบุรี
     alt ส่วนหัวตุ๊กตาเสียกบาล  ทำจากดินเผาเนื้อหยาบ  สีน้ำตาลแดง  ลักษณะเป็นหัวตุ๊กตามีจุกม้วนอยู่บนศีรษะ  ลายละเอียดของส่วน ใบหน้าไม่มี  มีเฉพาะจมูกและหูกว้าง  ขนาดกว้าง  3  เซนติเมตร  สูง  4.2  เซนติเมตร  ศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยา
     alt เศษอิฐ  พบบริเวณกลางเนิน  ลักษณะเป็นแนวเรียงอิฐ  เป็นแนวจากชั้นตัดของหน้าดินจะเห็นแนวของอิฐบด  และปูนขาว อัดแน่น เป็นฐานราก  ปัจจุบันแนวอิฐดังกล่าวถูกทำลายเหลืออยู่เพียงเล็กน้อย  ขนาดของอิฐกว้าง  9  เซนติเมตร  ยาว  24  เซนติเมตร  หนา  5  เซนติเมตรจากหลักฐานที่พบทั้งหมดจากแหล่งโบราณคดีแห่งนี้  สามารถสรุปได้ว่าแหล่งโบราณคดีบ้านโคกกระต่าย เป็นแหล่ง ชุมชนที่อยู่อาศัยมาตั้งแต่ในสมัยโบราณ  อาจจะกล่าวได้ว่า  ตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา  และในมัยกรุงศรีอยุธยาก็เป็นชุมชน แหล่งหนึ่งที่มีการติดต่อกับชาวต่างชาติ เช่น  พ่อค้าชาวจีนที่มาค้าขายในตัวเมืองราชบุรี  สืบเนื่องจากแหล่งโบราณคดีแห่งนี้  ตั้งอยู่ในเส้นทางที่สามารถติดต่อกับเมืองราชบุรีได้  โดยสะดวกในการใช้เส้นทางน้ำ  ประกอบกับบริเวณที่ตั้งของแหล่งโบราณคดีเป็น พื้นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการตั้งถิ่นฐานและตั้ง อยู่ในเส้นทางการเดินทัพที่สำคัญในสมัยกรุงธนบุรีปี  พ.ศ. 2317 สมเด็จพระเจ้าตากสินได้มาตั้งค่ายพักทัพเพื่อสู้รบกับพม่าที่บางแก้ว  ณ  บ้านโคกกระต่าย  แสดงว่าชุมชนตรงนี้จะต้องมีความสำคัญ  และมีความอุดมสมบูรณ์ที่จะจัดส่งเสบียงให้แก่กองทัพได้
     จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อันสำคัญยิ่งดังที่กล่าวนี้  จังหวัดราชบุรี  จึงได้ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูล และนำเผยแพร่สู่สาธารณชนคนไทยทุกหมู่เหล่า  เพื่อร่วมกันเทิดพระเกียรติ  พระวีรกรรมอันปรีชาสามารถของ พระองค์ที่ทรงรักษาผืนแผ่นดินไทยเอาไว้ให้ลูกหลานไทยจนปัจจุบัน
     จังหวัดราชบุรีดำริจะฟื้นฟู พัฒนาพื้นที่บริเวณค่ายโคกกระต่าย  ตำบลธรรมเสน  อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี  ให้เป็นแหล่งสำคัญ ทางประวัติศาสตร์ที่สมพระเกียรติ  และเป็นสถานที่เคารพสักการะบูชาพระเจ้าตากสินมหาราช  สำหรับคนรุ่นหลังสืบไป
alt

  ประวัติความเป็นมาองค์การบริหารส่วนตำบลธรรมเสน
     การจัดรูปองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึงฉบับที่ 5 พ.ศ. 2546 มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการ บริหารส่วนท้องถิ่น จึงนับเป็นมิติใหม่ที่รัฐบาลได้มีการกระจายอำนาจจากส่วนกลางให้กับท้องถิ่น อย่างแท้จริง เพื่อให้ประชาชนใน ท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบและมีส่วนร่วมในการบริหารท้องถิ่นตนเอง เพื่อให้สนองตอบต่อความต้องการและสามารถแก้ไขปัญหาของ ประชาชนได้อย่างแท้จริง และยังเป็นการเตรียมความพร้อมในการที่จะต้องรองรับการถ่ายโอนภารกิจ จากหน่วยงานส่วนกลางและ ส่วนภูมิภาค ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ตลอดจนกฎหมายอื่นที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล

Thai Arabic Chinese (Traditional) English French German Italian Japanese Korean Vietnamese

























































QR Code
อบต.ธรรมเสน

 

ช่องทางชำระภาษีทางอินเตอร์เน็ต


บัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์
 

ลิขสิทธิ์ © 2557 - 2564 องค์การบริหารส่วนตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.
องค์การบริหารส่วนตำบลธรรมเสน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี โทร.032-234994

 

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล